นวดน้ำมัน
นวดน้ำมัน คืออะไร? นวดน้ำมัน (Oil massage) เป็นการใช้มือนวดคลึงตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ร่วมกับการใช้น้ำมันหอมละเหย หรือน้ำมันสปา กลิ่นต่างๆ ทาตามตัวเพื่อให้นวดได้ลื่นมือขึ้น มีทั้งแบบน้ำมันไร้สีไร้กลิ่น และน้ำมันหอมระเหยซึ่งถือเป็นหนึ่งในรูปแบบของอโรมาเธอราปี (Aroma therapy)
นวดน้ำมัน นวดที่ใช้น้ำมันเป็นส่วนประกอบหลัก โดยจะนวดตามจุดต่างๆ บนร่างกาย เพื่อช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย
1. ความเป็นมาของการ นวดน้ำมัน (Aromatherapy Oil-massage)
1. การนวดน้ำมันหอมระเหยในประเทศตะวันตกเมื่อ 430 ปีก่อนคริสตศักราช พบว่ามีการนวด ในการรักษาโรค โดยฮิปโปเครติส บิดาแห่งการแพทย์ตะวันตก ได้กล่าวถึงการนวดไว้ว่า “แพทย์จะต้องมีความเชี่ยวชาญ
ในหลายด้าน และที่แน่นอนอย่างยิ่งคือต้องมีความเชี่ยวชาญในการนวดด้วย” ต่อมาในยุคโรมัน(27 ปีก่อนคริสตศักราช) ชาวกรีกได้รับความรู้ทางการแพทย์ด้วยการใช้กลิ่นบำบัดโดยใช้น้ำมันหอมระเหย
จึงได้พัฒนาหลักความรู้นี้ผสมผสานกับศาสตร์อื่น เช่น การนวดและการอาบ โดยใช้การนวดเป็นหลักในการบำบัด และบรรเทาอาการปวดได้ คริสต์ศตวรรษที่ 7 อะวิเซนนา (Avisenna) นักปรัชญาและแพทย์ชาวอาหรับ ได้บันทึกไว้ ใน “บัญญัติ” ของตนว่า วัตถุประสงค์ของการนวด เพื่อขจัดของเสียที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อแล้วไม่สามารถขจัดออก ได้ด้วยการออกกำลังกาย ทั้งนี้อะวิเซนนาได้คิดวิธีการกลั่นน้ำมันหอมระเทยขึ้นเป็นครั้งแรก และการกลั่นนี้ ยังเป็นวิธีการสกัดกลิ่นหอมอย่างง่ายอีกวิธีหนึ่งจนถึงปัจจุบัน คริสต์ศตวรรษที่ 19 แพร์ เฮนริก ลิง (Par Henrik Ling) ชาวสวีเดน ได้พัฒนาการนวดแบบสวีดิชขึ้น โดยรวบรวมความรู้ด้านยิมนาสติก สรีรวิทยา และเทคนิคการนวดกดจุดของประเทศจีน อียิปต์ กรีก และโรมันผสมผสานกัน และในปี ค.ศ. 1813 วิทยาลัย The Royal Institute of Cymnastics ในกรุงสต๊อกโฮล์ม ได้บรรจุวิชาการนวดไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอน ซึ่งต่อมาประเทศสวีเดนได้รวบรวมศาสตร์การนวด และการอบไอน้ำซาวน่าเข้าด้วยกัน จนกลายเป็นการนวดแบบสากลในชื่อ “สวีดิช มาสซาจ” (Swedish Massage)
2. การนวดน้ำมันหอมระเหยในประเทศตะวันออก พบว่าประเทศจีนมีการนวดเป็นแบบแผนเริ่มปรากฏขึ้น เมื่อ 4,500 ปีก่อนคริสตศักราช อีกทั้งมีหลักฐานยืนยันไว้ว่า เมื่อ 2,700 ปีก่อนคริสตศักราช มีตำราสมุนไพรจีน
ที่บันทึกไว้ว่าชาวจีนสามารถแยกสารหอมจากพืชธรรมชาติได้มากกว่า 300 ชนิด โดยจักรพรรดิจีนโปรดให้มี การนวดร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหย เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อและช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
ตำราอายุรเวทของอินเดีย ซึ่งมีอายุประมาณ 3,800 ปี ได้กล่าวถึง การนำน้ำมันหอมมาใช้ในการนวดรักษา โดยใช้น้ำมันหอม เช่น น้ำมันไม้จันทน์(Sandalwood oil) เป็นต้น
2.น้ำมันพื้นฐานที่ใช้ในการนวด น้ำมันพื้นฐานเป็นสื่อกลางที่ใช้ในการนวดและนำไปผสมกับน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิด ทั้งนี้ต้องเลือก ให้เหมาะสมกับบุคคลและอาการเจ็บป่วย ซึ่งมีหลายชนิดดังต่อไปนี้
1. น้ำมันมะพร้าว (Coconut Oil) น้ำมันมะพร้าวมี 2 แบบ คือ น้ำมันมะพร้าวตามธรรมชาติ (Natural Oil)และน้ำมะพร้าวผสม (Fractionated Oil) ใช้น้ำมันพื้นฐานในปริมาณเล็กน้อย เพื่อเป็นน้ำมันสำหรับนวด
เพราะง่ายต่อการดูดซึม หรือใช้เป็นสารหล่อลื่นทั่วไป แต่โดยทั่วไปมักจะใช้ในการทำน้ำมันหอม โดยใช้เป็น น้ำมันสื่อกลางทั่วไปหรือเป็นสารประกอบเบื้องต้น ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ บำรุงเส้นเอ็น
2. น้ำมันเมล็ดอัลมอนด์ (Sweet AImond Oil) ใช้เพื่อให้ความหล่อลื่น ความนุ่มนวล ความมีชีวิตชีวา และบำรุงผิวโดยเฉพาะผิวแห้ง ผิวแพ้ง่าย และผิวที่มีอาการระคายเคือง เป็นน้ำมันอ่อนปานกลางที่ใช้เป็น
น้ำมันสำหรับนวดหน้าหรือนวดตัว
3. น้ำมันมะกอก (Olive Oil) ใช้สำหรับผิวที่สูญเสียความชุ่มชื้นและผิวที่มีการระคายเคืองได้ดี ใช้เพื่อป้องกันและรักษาผิวที่มีรอยแตก ใช้กันแดดตามธรรมชาติ และใช้ปรับสภาพเส้นผม
4. น้ำมันอะโวคาโด (Avocado Oil) น้ำมันอะโวคาโดที่ไม่ผ่านการสกัดนั้น จะใช้ในการสร้าง เซลล์ผิวใหม่และมีคุณสมบัติในการบำรุงผิวค่อนข้างสูง เหมาะสำหรับผิวแห้ง ผิวด้าน ผิวสูญเสียความชุ่มชื้น
ผิวมีริ้วรอย และโรคผิวหนังอักเสบ ใช้ได้ดีที่สุดเมื่อผสมกับน้ำมันพื้นฐานที่คุณสมบัติอ่อนกว่า เช่น น้ำมัน เมล็ดอัลมอนด์
5. น้ำมันโจโจบา (Jojoba Oil) น้ำมันนี้มีประโยชน์หลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นการใช้นวด หรือการเสริมความงาม เหมาะกับทุกสภาพผิว รวมทั้งผิวมันและผิวเสีย ช่วยทำความสะอาดสิ่งอุดตันที่รูขุมขน
ใช้ได้กับผิวที่อักเสบและระคายเคืองอาจนำมาใช้ในการปรับสภาพเส้นผมและใช้กันแดดแบบอ่อนๆ ได้
6. น้ำมันคาเลนดูรา (Calendula Oil) เป็นน้ำมันที่มีประโยชน์ใช้เพื่อการรักษาบาดแผล เช่น แผลเป็น แผลไฟไหม้ อาการบวม และอาการบาดเจ็บอื่นๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยสร้างเนื้อเยื่อใหม่
เหมาะกับทุกสภาพผิวและใช้ได้ดีที่สุดเมื่อผสมกับน้ำมันสื่อกลางทั่วไปสำหรับการดูแลผิว
7. น้ำมันจมูกข้าวสาลี (Wheat Germ Oil) ใช้กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื้อใหม่ เหมาะสำหรับผิว ที่มีริ้วรอย ผิวเหี่ยวย่น มีรอยแผลเป็นและมีรอยแตก
8. น้ำมันแคร์รอต (Carrot Oil) ช่วยในการบำรุงและคืนความอ่อนเยาว์ สำหรับผิวที่มีริ้วรอย ผิวแห้ง หรืออาการคันบริเวณผิวหนัง รวมทั้งการติดเชื้อที่เล็บด้วย ในการผสมกับน้ำมันหรือครีมสื่อกลาง
อื่นๆ ควรใช้เมื่อเจือจางในปริมาณต่ำเท่านั้น
9. น้ำมันเมล็ดกุหลาบป่า (Rose Hip Seed Oil) เหมาะสำหรับการนำมาใช้เป็นเครื่องลำอาง เพื่อช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อและรักษาโรคผิวหนังอักเสบ โรคผิวหนังเรื้อรัง และใช้กับผู้หญิงที่มีปัญหาหมด
ประจำเดือน (ระหว่างอายุ45-50 ปี)
10. น้ำมันเมล็ดพืช (Peach kernel Oil) ใช้ในการดูแลรักษาความงามเป็นหลัก เพราะดูดซึมง่าย โดยเฉพาะผิวมีริ้วรอย ผิวแห้ง หรือผิวที่แพ้ง่าย และรอยเส้นเลือดดำ
11. น้ำมันเมล็ดองุ่น (Grape seed OiI) นิยมนำมาใช้เป็นน้ำมันพื้นฐานสำหรับนวด เพราะมีคุณสมบัติที่ทำให้รู้สึกสบาย มีกลิ่นอ่อน มีสรรพคุณในการบำรุงรักษาผิวพรรณ
12. น้ำมันแอปปริคอต (Apricot Kerne! OiI) ใช้ในการดูแลรักษาความงามเป็นหลัก
โดยเฉพาะผิวมีริ้วรอย ก่อนวัย ผิวแห้ง ผิวแพ้ง่าย และผิวอักเสบ และยังใช้เป็นน้ำมันนวดอย่างอ่อนได้ด้วย
13) น้ำมันอีฟนิงพริมโรส (Evening Primrose Oil) มีประโยชน์ในการรักษาหลายอย่าง
รวมทั้งโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง และปัญหาประจำเดือนหมดในผู้หญิง และยังให้ความชุ่มชื้นสำหรับผิวแห้ง
หรือผิวมีรอยแตกได้ดี
14) น้ำมันเฮเซลนัท (Hazel Nut OiI) มีคุณสมบัติในการสมานผิวและดูดซึมได้ง่าย
เหมาะสำหรับทุกสภาพผิว โดยเฉพาะผิวที่ติดเชื้อ
15) น้ำมันเสน (Sage Oil) เหมาะสำหรับผู้ถูกนวดที่มีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อ
16) น้ำมันงา (Sesame Oil) ซึมผ่านผิวหน้าได้ดีพอสมควร ช่วยปรับสภาพผิว และปกป้องผิว
จากแสงแดดได้ดี มีสรรพคุณช่วยบำรุงกระดูก
17) น้ำมันเม็ดดอกคำฝอย (Safflower OiI) ซึมผ่านผิวหนังได้ดี ใช้เป็นน้ำมันพื้นฐาน
ในการนวดได้ดี
3. การใช้น้ำมันหอมระเหยและหลักการนวดน้ำมันเพื่อสุขภาพ
น้ำมันหอมระเหย (Essential Oil ) เป็นน้ำมันที่พืชผลิตขึ้นตามธรรมชาติ เก็บไว้ตามส่วนต่างๆ
เช่น กลีบ ดอก ใบ ผิวของผล เกสร รากหรือเปลือกของลำต้น เมล็ด คุณสมบัติของน้ำมันหอมระเหยคือ
มีกลิ่นหอมและระเหยได้ง่าย อุณหภูมิปกติ เมื่อได้รับความร้อนอนุกาคเล็กๆ จะระเหยออกมาเป็นกลุ่มไอรอบๆ
ทำให้มีกลิ่นหอมทางธรรมชาติซึ่งจะช่วยดึงดูดแมลงให้มาผสมเกสรดอกไม้ ปกป้องการรุกร้านจากศัตรู
และรักษาความชุ่มชื้นแก่พืช แต่สำหรับประโยชน์ต่อมนุษย์ น้ำมันหอมระเหยมีคุณสมบัติและสรรพคุณ
แตกต่างกันออกไป โดยแบ่งตามคุณสมบัติของการระเหย เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ระเหยง่าย (top note)
กลุ่มที่ระเหยได้เร็วปานกลาง (middle note) และกลุ่มที่ระเหยได้ช้า (basic note) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
-กลุ่มที่ระเหยง่าย (top note) มีกลิ่นหอมแหลม ในการสูดดมจะได้รับกลิ่นก่อนน้ำมันชนิดอื่นๆ
มีลักษณะกระตุ้นมาก แทรกซึมได้ดี มักให้ความรู้สึกร้อนหรือเย็น ทำให้จิตใจเบิกบาน มักใช้ร้อยละ 2-20
ในตำรับของน้ำมันหอมระเหยทั้งหมด เช่น น้ำมันโหระพา เบอร์กามอต ยูคาลิปตัส เกรฟฟรุต มะนาว ตะไคร้
เปปเปอร์มินต์โรสแมรี่ ชินนามอน ลาเวนเดอร์ ที่-ทรี เป็นต้น
– กลุ่มที่ระเหยได้เร็วปานกลาง (middle note) มีกลิ่นหอมนุ่มนวล ให้ความรู้สึกอบอุ่น
มีผลต่อการเผาผลาญพลังงานและการทำงานของร่างกาย มักใช้ในปริมาณสูงตั้งแต่ร้อยละ 50-80 ของตำรับ
เช่น คาโมไมล์ เจฮร์ราเนียม โรสแมรี่ จูนิเปอร์ ลาเวนเดอร์ ส้ม สน กุหลาบ กระดังงา ไทม์ เป็นต้น
-กลุ่มที่ระเหยได้ช้า (basic note) มีกลิ่นจะมีลักษณะหนัก ทึบ ติดทน และดูดซึมสู่ผิวหนังได้ดี
เป็นน้ำมันที่ระงับความวุ่นวายและช่วยผ่อนคลาย ใช้ในปริมาณไม่เกินร้อยละ 5 ของตำรับ เช่น ซีดาร์วูด
มะลิ มาร์จอแรมเนโรลี ไม้จันทน์ เป็นต้น
3.1 วิธีการใช้น้ำมันหอมระเหย
การใช้น้ำมันหอมระเหยร่วมกับการนวด ควรเลือกใช้ให้สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพของแต่ละคน
ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้หลายวิธีดังนี้
1)สูดดมโดยตรง โดยใช้สำลีหรือผ้าเช็ดหน้าชุบน้ำมันหอมจากขวดแล้วนำมาสูดดม แต่วิธีการนี้
ต้องระมัดระวังว่าน้ำมันหอมระเหยนั้นต้องเจือจางก่อน เช่น การสูดดมน้ำมันยูคาลิปตัสเพื่อบรรเทาอาการหวัด
2) สูดดมไอระเหยโดยหยดน้ำมันหอมระเหย 5-10 หยด ในน้ำร้อน ไอน้ำจะพากลิ่นระเหยออกมา
3) นวดการนวดเพื่อช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อ ระบบประสาท เนื้อเยื่อ และผิวหนัง ลดอาการปวดเมื่อย
ช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น และควรเลือกให้เหมาะสมกับสภาพผิวด้วย วิธีการใช้จะนำน้ำมันหอมระเหย
มาผสมกับน้ำมันพื้นฐานที่เตรียมไว้ เช่น ผสมน้ำมันหอมระเหย 30 หยด ต่อน้ำมันพื้นฐาน 30 ซีซี เพื่อใช้
สำหรับนวดร่างกายในผู้ใหญ่ แต่สำหรับเด็กให้ลดปริมาณลงเหลือน้ำมันหอมระเหยเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น
4) ทาผิว วิธีการใช้น้ำมันหอมระเหย 30 หยด ต่อน้ำมันพื้นฐานที่ใช้ทาผิวและไม่มีกลิ่น 30 ซีซี
น้ำมันหอมระหยที่บำรุงผิวพรรณ เช่น ชมิ้นชัน ทีทรี น้ำมันหอมระเหยที่ใช้ทาผิวเพื่อกันยุงกัด เช่น ตะไคร้หอม
กลิ่นส้ม เป็นต้น
5) การอาบน้ำ แช่น้ำ เป็นวิธีการที่ได้ทั้งการสูดดมและสัมผัสทางผิวหนัง วิธีการใช้หยดน้ำมัน
หอมระเหย 30 หยด ลงในอ่างน้ำ เมื่อแช่น้ำน้ำมันหอมระเหยจะซึมเข้าไปในผิวหนัง
6) การประคบร้อน ประคบเย็น ถ้าใช้น้ำร้อนเรียกประคบร้อน หากใช้น้ำเย็นเรียกประคบเย็น
ผสมน้ำมันหอมระเหย 12 หยด ในอ่างน้ำร้อน แล้วนำผ้าขนหนูลงไปแช่แล้วบิดให้พอหมาดๆ นำมาประคบ
ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
7) การแช่มือหรือเท้า วิธีการใช้น้ำมันหอมระเหย 20 หยด ลงในน้ำอุ่นในกะละมังแล้วแช่มือ
หรือเท้าใช้เวลาประมาณ 10 นาที เพื่อช่วยผ่อนคลายความเมื่อยล้าที่มือและเท้า และช่วยลดอาการปวดศีรษะ
ปวดไมเกรน
8) การกลั้วคอหรือบ้วนปาก การใช้น้ำมันหอมระเหย 2-3 หยดผสมในน้ำ 1 ส่วน 4 แก้ว
คนให้ทั่วแล้วกลั้วคอหรือบ้วนปาก เพื่อบำบัดโรคในช่องปาก ช่องคอ เช่น ลดความเจ็บปวด ลดการอักเสบ
หรือฆ่าเชื้อโรค
9) การจุดเทียนหอม การผสมน้ำมันหอมระเทยลงในเทียน เมื่อเวลาจุดเทียนจะได้กลิ่นของ
น้ำมันหอมระเหย คล้ายกันกับการใช้เตาระเหย นอกจากนี้ อาจใส่บุหงารำไป (potpourri) หรือกลีบดอกไม้แห้ง
ใบไม้แห้ง เมล็ดพันธุ์บางชนิดที่อบแห้งแล้วนำมาพรมด้วยกลิ่นน้ำมันหอมระเหยตามที่ต้องการ
10) การใช้เตาระเหย การนำน้ำมันหอมระเหย 5-10 หยด หยดลงในน้ำที่อยู่ในฝาหรือถ้วยเหนือเตา
หรือตะเกียง ซึ่งมีอุณหภูมิไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส จะทำให้เกิดไอระเหยและส่งกลิ่นหอม ช่วยสร้างบรรยากาศ
ทำให้ผู้ได้รับกลิ่นได้รับการบำบัดอาการที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และจิตใจตามคุณสมบัติของน้ำมันหอมระเทย
แต่ละชนิด หรือใช้เตาระเหยไฟฟ้า ซึ่งเหมาะลำหรับใช้ตอนกลางคืน โดยเฉพาะห้องนอนของเด็ก
และยังสามารถปรับตั้งค่าการกระจายกลิ่นได้หลายระดับ
3.2 การผสมน้ำมันหอมระเหยกับน้ำมันพื้นฐาน
การผสมน้ำมันหอมระเหยกับน้ำมันพื้นฐานขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้และวิธีการนำไปใช้ว่า
ใช้โดยวิธีใด เช่น สูดดม สูดดมไอระเหย นวด ทาผิว อาบน้ำ แช่น้ำ หรือประคบ ฯลฯ แต่ในที่นี้จะเน้นเรื่อง

การผสมน้ำมันหอมระเหยเพื่อนำมานวดน้ำมัน ซึ่งแบ่งตามสภาพผิวที่ใช้ บุคคลที่ใช้ และการใช้เพื่อบำบัด
อาการเจ็บป่วย มีรายละเอียดดังนี้

1) น้ำมันนวดตัวสำหรับผิวทั่วไป ผสมน้ำมันหอมระเหย 5-30 หยดกับน้ำมันพื้นฐาน 50 ซีซี
2) น้ำมันนวดตัวสำหรับผิวที่บอบบาง เช่น ผิวหน้า ควรผสมเจือจางมาก ใช้เพียงร้อยละ 0.5-1
ของน้ำมันพื้นฐานที่ใช้ ถ้าใช้น้ำมันสื่อกลาง 50 ซีซี ใช้น้ำมันหอมระเหยเพียง 1 หยด
3) น้ำมันที่ใช้นวด ทารก เด็กเล็ก และสตรีมีครรภ์ ควรผสมให้เจือจางที่สุดเหมือนกับการใช้
ในผิวที่บอบบาง ไม่เกินร้อยละ 0.5 ของน้ำมันพื้นฐานที่ใช้ ถ้าใช้น้ำมันสื่อกลาง 50 ซีซี ใช้น้ำมันหอมระเหย
ไม่เกิน 1 หยด
4) น้ำมันที่ใช้นวดเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยเช่น ปวดกล้ามเนื้อหรือปวดตามข้อ ให้ผสมเข้มข้นขึ้น
จากน้ำมันนวดตัวสำหรับผิวทั่วไป ประมาณร้อยละ 3 การรักษาอาการเจ็บป่วยทางอารมณ์ เช่น ภาวะเครียด
โรคซึมเศร้า นอนไม่หลับ ให้ผสมเข้มข้นขึ้นจากน้ำมันนวดตัวสำหรับผิวทั่วไป ประมาณร้อยละ 1.5 – 2
ถ้าใช้น้ำมันพื้นฐาน 50 ซีซี ใช้น้ำมันหอมระเหยเพียง 3-5 หยด
3.3 หลักการนวดน้ำมันเพื่อสุขภาพ
การนวดน้ำมันมีเทคนิคและวิธีการที่เป็นแบบผสมผสานระหว่างการนวดไทยและการนวดแบบสวีดิช
ซึ่งการนวดน้ำมันแบบนวดไทยจะใช้แนวเส้นในการนวดตามแนวเส้นประธานสิบ ส่วนเทคนิควิธีการวางมือ
นั้นจะนำรูปแบบการนวดสวีดิชมาใช้ร่วมด้วย การทาน้ำมันหอมระเหยนอกจากจะช่วยบำบัดแล้วยังทำให้
การนวดน้ำมันมีความไหลลื่นต่อเนื่อง ทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายระดับลึก
4.ผลของการนวดน้ำมันหอมระเหยต่อสุขภาพ
กลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหย ทำให้เกิดการผ่อนคลายทั้งทางร่างกายและจิตใจเนื่องจากความหอม
หรือกลิ่นที่จมูกสัมผัสมีผลต่อร่างกาย กล่าวคือโมเลกุลของน้ำมันหอมระเหยที่สูดดมเข้าไปจะไปจับกับ
ตัวรับ (receptor) บนเยื่อบุช่องจมูก ประสาทรับกลิ่นที่จมูกแล้วแปรสัญญาณเป็นสารสื่อประสาทหรือ
สัญญาณทางไฟฟ้าเคมีผ่านไปยังสมองส่วนที่เป็นศูนย์ควบคุมอารมณ์ที่อยู่ใต้สมองที่เรียกว่า Limbic system
ระบบนี้จะติดต่อกับสมองส่วนสำคัญ ที่ควบคุมการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต การหายใจ การสืบพันธุ์
ความจำและการตอบสนองต่อความเครียด ระบบย่อยอาหาร มีผลกระตุ้นหรือระงับระบบประสาทและสมอง
รวมทั้งระบบต่อมไร้ท่อต่างๆ รายละเอียดดังต่อไปนี้
1) ระบบไหลเวียนของโลหิต น้ำมันหอมระเหย มีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตซึ่งมีผลให้หัวใจ
และสมองทำงานได้ดี ทำให้ร่างกายสามารถขจัดของเสียออกทางไตได้ดีขึ้น นอกจากนี้เมื่อมีการไหลเวียน
โลหิตดีจะส่งผลต่อระบบภูมิต้านทานของร่างกายได้ดียิ่งขึ้น หลายชนิดเช่น น้ำมันเจอร์ราเนียม น้ำมันกุหลาบ
และน้ำมันหญ้าแฝก เป็นต้น
2) ระบบการทำงานของน้ำเหลือง น้ำมันหอมระเหยช่วยให้เม็ดเลือดขาว Iymphocytes
ขจัดหรือต่อสู้กับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมของร่างกาย เช่น น้ำมันโหระพา น้ำมันไม้จันทน์ น้ำมันมะกรูด เป็นต้น
3) ระบบประสาท มีผลต่อการกระตุ้นความจำ อารมณ์ และความรู้สึก ผิวหนัง กล้ามเนื้อช่วยให้ผ่อนคลายและลดความเจ็บปวด ลดอาการแพ้หรือระคายเคือง ฆ่าเชื้อโรค ลดการอักเสบ และช่วยชะลอ
ความเหี่ยวย่นได้ เช่น น้ำมันมะกรูด น้ำมันไม้จันทน์ น้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันดอกคาโมไมส์ เป็นต้น
4) ระบบต่อมไร้ท่อ ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนเพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย
น้ำมันหอมระเหยบางชนิดมีผลต่อการทำงนของผิวหนังทำให้ผิวหนังชุ่มชื่นน้ำมันหอมระเหยพวกนี้ส่วนมาก
จะนำมาใช้ประโยชน์ในการนำมาถนอมผิวและเป็นเครื่องสำอาง เช่น น้ำมันยี่หร่า น้ำมันเจอร์ราเนียม เป็นต้น
5) ระบบกล้ามเนื้อ น้ำมันหอมระเหยมีผลต่อระบบกล้ามเนื้อช่วยผ่อนคลายการตึงตัว
ของกล้ามเนื้อและถ้ามีการนวดร่วมด้วยจะช่วยให้กล้ามเนื้อสามารถปลดปล่อยกรดแลคติกและกรดยูริค ที่คั่งค้างอยู่
ออกมาได้ สามารถลดหรือคลายความเมื่อยล้าได้ดี เช่น น้ำมันขิง น้ำมันพริกไทยดำ น้ำมันโรสแมรี่ เป็นต้น
6) ระบบการย่อยอาหาร น้ำมันหอมระเหยมีผลผ่อนคลายกล้ามเนื้อเรียบในระบบย่อยอาหาร
ช่วยลดแก๊สที่คั่งค้าง มีผลช่วยขับลม เช่น น้ำมันกานพลู น้ำมันกะเพรา น้ำมันเปปอร์มิ้นต์ เป็นต้น
7) ระบบหายใจ โดยโมเลกุลของน้ำมันหอมระเหยบางชนิดช่วยคลายกล้ามเนื้อเรียบ ลดการเกร็ง
ของหลอดลมหรือช่วยชับเสมหะได้ เช่น น้ำมันที ทรี น้ำมันยูคาลิปตัส เป็นต้น
8) ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ น้ำมันหอมระเหยซึ่งมีผลต่อการทำงานของฮอร์โมนเพศหญิง
นำมาใช้ในการบำบัดอาการผิดปกติของวัยหมดประจำเดือนหรืออาการก่อนมีประจำเดือน ได้แก่ เครียด
ปวดหลัง ท้องผูก ท้องเสีย ผิวแห้ง เช่น น้ำมันกุหลาบ น้ำมันเจอร์ราเนียม น้ำมันคาโมไมล์ เป็นต้น
9) ระบบโครงสร้างของร่างกายน้ำมันหอมระเทยบางชนิดช่วยสมานหรือสร้างกระดูก
เช่นน้ำมันขิง น้ำมันสนสีดา หรือน้ำมันพื้นฐานจำพวกน้ำมันงา น้ำมันมะพร้าว เป็นต้น
5.ข้อแนะนำสำหรับการนวดน้ำมัน
(1) กรณีที่ไม่ควรนวด
(1) หลังรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ
(2) ร่างกายกำลังอ่อนเพลียมาก
(3) หลังดื่มสุรา หรือหลังอาบน้ำเสร็จทันที
(4) มีโรคติดเชื้อ หรือมีไข้สูง
(5) หญิงตั้งครรภ์เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยบางชนิด หากสูดดมเข้าไปในปริมาณมาก
อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์
(6) ระหว่างมีประจำเดือน เพราะอาจทำให้มีเลือดออกมาผิดปกติเกิดความแปรปรวน
เลือดลมภายใน หรืออาจทำให้เป็นโรคไข้ทับระดูได้
2) คำแนะนำหลังการนวด
(1) ดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำสมุนไพร
(2) ไม่ควรอาบน้ำทันที หลังการนวดเสร็จ อย่างน้อย 1 ชั่วโมง